หน้าแรก
คำอธิบายรายวิชา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สารบันบทเรียน
แบบทดสอบ
กระดานถามตอบ
ผู้จัดทำ
  เรื่อง :   ระบบย่อยอาหาร
   
 

ระบบย่อยอาหาร

            สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจำเป็นต้องได้รับอาหารเพื่อใช้ในกิจกรรมการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตบางชนิดสามารถสร้างอาหารได้เองด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เช่น พืช แต่สิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น มนุษย์ สังเคราะห์ด้วยแสงไม่ได้ ต้องรับอาหารที่เป็นสารอินทรีย์จากพืชหรือสัตว์นำเข้าสู่ร่างกาย หลังจากนั้นจะต้องมีการทำให้อาหารเหล่านี้เป็นโมเลกุลเล็ก ๆ เพื่อให้เข้าสู่กระแสเลือดแล้วนำไปยังเซลล์ต่าง ๆ ต่อไป การทำอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็กแล้วซึมเข้าสู่กระแสเลือดนี้เรียกว่า การย่อย (digestion)

การย่อยอาหารในร่างกายมี 2 วิธี คือ
1. การย่อยเชิงกล คือ การบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดของอาหารทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง
2. การย่อยเชิงเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหาร โดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องทำให้โมเลกุลของสารอาหาร เกิดการเปลี่ยนแปลง ทางเคมีได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง

การย่อยในปาก

            การย่อยเชิงกลเริ่มตั้งแต่ปาก ในปากมีฟันทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียด มนุษย์มีฟัน 2 ชุด ชุดแรก เรียกฟันน้ำนม มี 20 ซี่ ชุดที่ 2 เรียกฟันแท้ มี 32 ซี่ ฟันแท้ประกอบด้วยกลุ่มฟันหลายแบบแตกต่างกัน ดังภาพ

Untitled-21

ภาพที่ 2 ฟันแท้ในปากของมนุษย์
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 12

  

           นอกจากนั้นแล้ว ในปากยังมีน้ำลาย ที่ผลิตจากต่อมน้ำลายประมาณวันละ 1 – 1.5 ลิตร ในการย่อยแป้งด้วยน้ำลายนั้น ในน้ำลายมีเอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล เอนไซม์ในน้ำลายจะทำงานได้ดี ระหว่างค่า pH 6.4 – 7.2 และทำงานได้ดีในอุณหภูม ิใกล้เคียงกับอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าอุณหภูมิสูงมากจะทำลายเอนไซม์ และ            ถ้าสภาวะแวดล้อมเป็นกรดเป็นเบส เอนไซม์จะถูกทำลายเนื่องจากอาหาร อยู่ในปากระยะเวลาสั้นมาก แป้งที่ถูกย่อยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของน้ำตาลโมเลกุลคู่ คือ น้ำตาลมอลโทส

 

666977-0002

ฟันของมนุษย์เราแข็งแรงมาก แต่ถ้าดูแลรักษาไม่ดีอาจผุได้ เนื่องจากจุลินทรีย์ในปากจะย่อยสลายเศษอาหารที่ตกค้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำตาล นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังใช้น้ำตาลส่วนหนึ่งสร้างสารเมือกเหนียวติดบนตัวฟันและจะเกาะทับถมเพิ่มจำนวนมากขึ้นบนฟันเป็นแผ่นคราบจุลินทรีย์ (plaque)

           เมื่ออาหารผ่านเข้าไปถึงหลอดอาหาร หลอดอาหารจะบีบตัว เพื่อให้อาหารเคลื่อนที่ผ่านไปได้ การบีบตัวของหลอดอาหารเรียกว่า เพอริสตัลซิส (peristalsis)                   ถ้าอาหารอยูในลักษณะเป็นของเหลว จะทำให้การเคลื่อนที่ผ่านหลอดอาหารได้เร็วขึ้น ดังภาพ

Untitled-20

ภาพที่ 3 การบีบตัวที่หลอดอาหาร
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 13

  


อาหารจากปากซึ่งมีการย่อยเชิงกล และการย่อยทางเคมีแล้วผ่านไปยังหลอดอาหารหลังจากนั้นอาหารจะลงสู่กระเพาะอาหาร นักเรียนคิดว่าในกระเพาะอาหารมีการย่อยอย่างไร

 

 

Copyright © 2021-2025, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
พัฒนาระบบโดย ครูออฟครับ