หน้าแรก
คำอธิบายรายวิชา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
สารบันบทเรียน
แบบทดสอบ
กระดานถามตอบ
ผู้จัดทำ

 
  เรื่อง :   การสกัดด้วยตัวทำละลาย
   
 

การสกัดด้วยตัวทำละลาย

            การสกัดด้วยตัวทำละลาย (sovent extraction) เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง           ในอุตสาหกรรม เช่น การสกัดน้ำมันพืชเพื่อใช้ประกอบอาหาร โดยนำวัตถุดิบมาจากเมล็ดของพืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่ เมล็ดทานตะวัน ถั่วเหลือง ปาล์ม ถั่วลิสง ข้าวโพด เมล็ดบัว งา และรำข้าว ในการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเชนเป็นตัวทำละลาย หลังการสกัดจะได้สารละลายที่มีน้ำมันพืชละลายอยู่ในเฮกเซน จากนั้นนำไปกรองเอากากเมล็ดพืชออก            แล้วนำสารละลายไปกลั่นแยกลำดับส่วนเพื่อแยกเฮกเซนจะได้น้ำมันพืช ซึ่งต้องนำไป ฟอกสี ดูดกลิ่น และกำจัดสารอื่น ๆ ออกก่อน จึงจะได้น้ำมันพืชสำหรับใช้ปรุงอาหาร ทั้งนี้   การสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นวิธีการแยกสารที่ใช้มากในชีวิตประจำวัน เป็นการแยกสาร         ที่ต้องการออกจากส่วนต่าง ๆ ของพืชหรือจากของผสมต้องเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสารที่ต้องการ

การเลือกตัวทำละลายที่นำมาใช้ในการสกัดมีหลักทั่วไป ดังนี้

 

1. ต้องละลายสารที่ต้องการสกัดได้ดี
2. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการสกัด
3. ถ้าต้องการแยกสี ตัวทำละลายจะต้องไม่มีสี ถ้าต้องการแยกกลิ่น ตัวทำละลายต้องไม่มีกลิ่น
4. ไม่มีพิษ มีจุดเดือดต่ำ และแยกตัวออกจากสารที่ต้องการสกัดได้ง่าย
5. ไม่ละลายปนเป็นเนื้อเดียวกับสารที่นำมาสกัด
6. มีราคาถูก

 

ตัวทำละลายที่นิยมใช้ในการสกัด ได้แก่ น้ำ เบนซิน อีเทอร์ โทลูอีน      และเฮกเซน สำหรับการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเซน ในการสกัดน้ำมันพืชนั้น เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันออกจากพืชแล้วต้องนำสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยก  เฮกเซนออกไปจากสารที่สกัดได้ ต่อจากนั้นจึงกำจัดสีและกลิ่นจนได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์

ตัวทำละลายที่นิยมใช้ในการสกัด ได้แก่ น้ำ เบนซิน อีเทอร์ โทลูอีน      และเฮกเซน สำหรับการสกัดน้ำมันพืชนิยมใช้เฮกเซน ในการสกัดน้ำมันพืชนั้น เมื่อใช้เฮกเซนสกัดน้ำมันออกจากพืชแล้วต้องนำสารละลายที่ได้ไปกลั่นเพื่อแยก  เฮกเซนออกไปจากสารที่สกัดได้ ต่อจากนั้นจึงกำจัดสีและกลิ่นจนได้น้ำมันพืชบริสุทธิ์

การสกัดด้วยตัวทำละลาย อาจสกัดด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ซอกซ์เลต เครื่องมือดังกล่าวนี้ใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย เพราะใช้วิธีการให้ตัวทำละลาย         หมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลาย ๆ ครั้งต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งสกัดสารออกมาได้เพียงพอ

 

ประโยชน์ของการสกัดด้วยด้วยตัวทำละลาย

1. ใช้สกัดน้ำมันพืชจากเมล็ดพืช เช่น น้ำมันงา ถั่ว ปาล์ม นุ่น บัว เป็นต้น นิยมใช้
เฮกเซนเป็นตัวทำละลาย
2. สกัดสารมีสีออกจากพืช
3. ใช้สกัดน้ำมันหอมระเหยออกจากพืช
4. ใช้สกัดยาออกจากสมุนไพร

สารที่นิยมสกัดด้วยตัวทำละลาย

           การสกัดสารออกจากพืชต่าง ๆ เช่น ใบเตย มะลิ ตะไคร้หอม เป็นต้น  โดยปริมาณ    ที่สกัดได้ขึ้นอยู่กับประมาณพืชที่ใช้ ชนิดตัวทำละลายและปริมาณตัวทำละลาย ได้แก่        น้ำสกัดสีจากขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล ถ้าใช้ตัวทำละลายที่ผสมน้ำและเอทานอลเข้าด้วยกัน สารที่สกัดจะมีทั้งสีและกลิ่นรวมอยู่ด้วยกัน สารที่สกัดได้จากขมิ้นนำไปใช้ประโยชน์                            ในการผสมเครื่องสำอางและอาหาร สารจากพืชส่วนใหญ่ใช้น้ำเป็นตัวสกัด แต่บางชนิด        ใช้น้ำเย็น บางชนิดใช้น้ำร้อน สารที่ใช้น้ำเย็นสกัด เช่น สกัดสีจากใบเตย กลิ่นหอม                จากดอกมะลิ สีจากดอกอัญชัน สารที่ใช้น้ำร้อนสกัด เช่น สีจากดอกกระเจี๊ยบ กลิ่นหอมจากตะไคร้หอม สีจากแก่นขนุน ใบหูกวาง สารบางชนิดสกัดโดยใช้เอทานอล เช่น ยาดองสมุนไพร ไวน์กระชายดำ

 

       เฮกเซน มีสูตรทางเคมีคือ C2H14 เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีจุดเดือด 69 องศาเซลเซียส  ไอของเฮกเซนเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ

จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ดังนี้
1. ตัวทำละลายขมิ้น 2 ชนิด คือ น้ำ และเอทานอลให้ผลการสกัดสารต่างกันคือ    ทั้งน้ำและเอทานอลสามารถสกัดสีขมิ้นได้ แต่น้ำสามารถสกัดกลิ่นขมิ้นได้ดีกว่าเอทานอล เนื่องจากเอทานอลมีกลิ่นแต่น้ำไม่มีกลิ่น
2. การหั่นขมิ้นเป็นชิ้นเล็ก ๆ มีผลต่อการสกัด เพราะยิ่งขมิ้นชิ้นเล็ก การสกัดสารยิ่งดี เนื่องจากผิวหน้าสารที่ถูกสกัดเพิ่มมากขึ้นเมื่อสารนั้นชิ้นเล็กลง
สารที่สกัดจากพืชหลายชนิดเป็นโอสถสารหรือตัวยาอยู่ในพืช เมื่อสกัดสารออกมาได้สามารถนำตัวยาที่สกัดได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ทำเครื่องสำอาง         ผสมสารอาหาร ผสมในน้ำมันหม่องใช้สูดดม

ภาพที่ 18 น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากการสกัดด้วยตัวทำละลาย
ที่มา : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2412212100/16.htm

 

 

 

Copyright © 2021-2025, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537